Keyword สำคัญ


ทฤษฎีพัฒนาการ

ที่
ทฤษฏี
แนวคิด
กุญแจสำคัญ
ลำดับขั้น
ประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
1
ฟรอยด์
บุคลิกภาพ
พฤติกรรมของผู้ใหญ่จะดีหรือไม่ดีให้ย้อนไปดูพฤติกรรทในวัยเด็กอายุ 0-6 ปี (Critical Period)
5 ขั้น
1. ในการจัดการเรียนการสอน ครูควรยึดผู้เรียนเป็นหนัก และควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก
2. ควรจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของเด็กแต่ละช่วงอายุ
3. ควรจัดกิจกรรมแบบกลุ่ม ให้เด็กได้มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีและเข้ากันกับเพื่อนได้
2
อีริคสัน
บุคลิกภาพ
การสร้างฐานแต่ละฐานให้แข็งแกร่ง ตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงขั้นสุดท้าย เปรียบเสมือนการสร้างบ้านที่ต้องสร้างฐานที่แข็งแกร่ง เพื่อที่จะได้บ้านที่มั่นคงแข็งแรง
8 ขั้น
สัมพันธภาพระหว่างบุคคลและการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการพัฒนาแต่ละช่วงวัยของผู้เรียน นอกจากนี้ครูที่นำขั้นพัฒนาการมาใช้เป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ก็จะสามารถช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้
3
โรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ส
พัฒนาการตามวัย
งานพัฒนาการ คือ งานที่ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัยของชีวิต ผลของงานแต่บะวัย จะเป็นการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป
6 ขั้น
1. ครูสามารถนำทฤษฎีมาสังเกตการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
2. ครูควรจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยสอดคล้องกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ตามลำดับของพัฒนาการ
3. ครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้เด็กได้รู้จักการเข้าสังคมกับผู้อื่นได้ดี
4
โคลเบิร์ก
พัฒนาการทางจริยธรรม
การพัฒนาจริยธรรมของเด็กและผู้ใหญ่ในแต่ละช่วงวัยจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผลในการวิเคราะห์จริยธรรมในขั้นนั้นๆ
3 ระดับ 6 ขั้น
1. ผู้สอนควรกระตุ้นให้เด็กได้สื่อแนวคิดนั้นๆออก มาโดยสร้างบรรยากาศที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนอภิปรายได้อย่างอิสระ
2. ใช้สถานการณ์ตัวอย่างหรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในห้องเรียนมากระตุ้น ให้ผู้เรียนตระหนักถึงการมีจริยธรรม
3. ทำให้ผู้สอนรู้ว่าเด็กเล็กมีการตอบสนองข้อขัดแย้งในเรื่องจริยธรรม แตกต่างจากเด็กโต
5
เพียเจต์
สติปัญญา
เด็กจะมีพัฒนาการทางสติปัญญาที่ดี ก็ต่อเมื่อมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
4 ขั้น
1. เน้นการเรียนรู้ ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
2. ถามคำถามมากกว่าให้คำตอบ
3. ครูผู้สอนพูดให้น้อย ฟังให้มาก
4. ยอมรับความจริง นักเรียนแต่ละคนมีสติปัญญาที่แตกต่างกัน
5. พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอบคำถามนั้นๆ
6
เจโรม บรูเนอร์
การเรียนรู้
Discovery learning การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3 ขั้น
1  ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้ อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
2  โครงสร้างของบทเรียนซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3  การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียนโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
4  การเสริมแรงของผู้เรียน



ทฤษฏีการเรียนรู้


ที่
ทฤษฏี
แนวคิด
กุญแจสำคัญ
ตัวอย่าง การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
1.
พาฟลอฟ
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
Type S
สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม
จินไม่ชอบเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เนื่องจากจินไม่ชอบคุณครูที่สอนเพราะคุณครูถามคำถามโดยให้จินเป็นคนตอบเสมอ พอจินตอบคำถามไม่ได้ ครูก็จะดุจิน จึงทำให้จินไม่ชอบวิชานี้และไม่เกิดการเรียนรู้
2.
วัตสัน     
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

Type S
เจแปนชอบเล่นฝนมากๆแต่อยู่มาวันหนึ่งในขณะที่เจแปนกำลังเล่นฝนก็มีเสียงฟ้าร้องดังมากๆ เจแปนตกใจและกลัวมาก หลังจากนั้นเจแปนก็กลัวเสียงฟ้าร้องมาตลอด เมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้องเจแปนก็จะร้องไห้ไม่หยุด ต่อมาเจแปนได้นั่งทานข้าวกับแม่และได้ยินเสียงฟ้าร้อง เจแปนกอดแม่ทันที แม่ของเจแปนคอยปลอบ ทำแบบนี้ 2 สัปดาห์ เจแปนก็ไม่กลัวเสียงฟ้าร้องอีกเลย
3.
สกินเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือทำ
การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ส่วนการกระทำที่ไม่เสริมแรงมีแนวโน้มที่การกระทำนั้นๆจะลดลงและค่อยๆหายไป
ครูแก้วตาให้เด็กๆวาดรูปลงไปในกระดาษ หากใครวาดได้สวย จะได้คะแนน 3 ดาวเป็นรางวัล แต่ห้องคุณครูปลาให้เด็กๆวาดรูปเหมือนกัน แต่ไม่มีรางวัลให้ เด็กๆห้องครูปลาจึงไม่ค่อยจะขะหมักเขม้นเหมือนห้องคุณครูแก้วตา
4.
ธอร์นไดค์
ทฤษฎีการสัมพันธ์เชื่อมโยง
การลองผิดลองถูก
คุณครูให้ดาจิมแกะขนมที่อยู่ในปี๊บ ถ้าแกะได้จะได้กินขนม ดาจิมจึงเริ่มแกะฝาปี๊บด้วยมือเปล่า ปรากฏว่าไม่ออก ดาจิมจึงไม่หยิบไม่บรรทัดพลาสติกมาเพื่อจะแกะฝาออก ปรากฏว่าไม้บรรทัดหัก ดาจิมจึงหาอะไรที่แข็งแรงกว่าโดยหยิบช้อนมาแกะฝาปรากฏว่าฝาถูกเปิดออกอย่างง่ายดาย ดาจิมจึงได้กินขนม
5.
แบนดูรา
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมพุทธิปัญญา
        การเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ
คุณครูกีต้าให้เด็กๆเต้นเพลง เรามาแปลงฟัน โดยคุณครูจะเต้นให้เด็กๆดู และให้เด็กๆเต้นตาม ในตอนแรกเด็กหญิงโซดาเต้นตามครูไม่ได้ เธอยืนมองคุณครูเต้นอยู่2 รอบ และเธอก็เริ่มเต้นตามครูได้ ต่อมาเด็กหญิงโซดาเต้นตามคุณครูอีก5 รอบ เธอก็สามารถเต้นตามครูได้ถูกจนจบเพลง
6.
เกสตัลท์
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม
การรับรู้ (perception)  และนำไปสู่การหยั่งเห็น (Insight)
กิมจิกำลังเดินกลับบ้านแต่เมื่อเดินถึงสะพานปรากฏว่าสะพานขาด เป็นรู้กว้าง 2 เมตร กิมจิจึงมองหาไม้ที่กว้างพอจะเดินได้มาพาดแล้วเดินข้ามไปได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น